สายตาสั้นเทียม คืออะไร?

วันที่เผยแพร่ 01 พ.ย. 2561

สายตาสั้นเทียม




สายตาสั้นเทียม (Pseudomyopia)
คืออาการหลังจากใช้สายตามองระยะใกล้เป็นเวลาต่อเนื่องกันนานเกินไป เมื่อละสายตามามองไกลจะเกิดอาการ “มองไกลมัว” ได้ ซึ่งสาเหตุเกิดจากเมื่อมองในระยะใกล้เลนส์ลูกตาจะป่องออกและเกิดการเกร็งค้างของกล้ามเนื้อ ไม่ยอมคลายตัว จึงทำให้เลนส์ตาป่องตัวอยู่ตลอดเวลา และมีคุณสมบัติรวมแสงมากขึ้น ทำให้แสงถูกดึงมาตกก่อนจอรับภาพคล้ายลักษณะสายตาสั้น ซึ่งเป็นอาการชั่วคราว และจะกลับมาปกติหลังจากกล้ามเนื้อคลายตัว ด้วยความที่มันสามารถกลับไป-กลับมาแบบนี้ เราจึงเรียกว่า “สายตาสั้นเทียม” แล้วแตกต่างจากสายตาสั้นจริงๆอย่างไร
 
สายตาสั้นจริงๆ (myopia)
  • มองไกลมัว...(มัวยังไงก็มัวอย่างนั้น...มัวตลอดเวลา)
  • อัตราความมัวคงที่....."มัว..ไม่ยอมเปลี่ยนแปลง"
  • ไม่ปวดหัว...แต่มีอาการมัวเฉยๆ
 
สายตาสั้นเทียม (Pseudo Myopia)
  • มองไกลมัว...(อาการคล้ายๆกับสายตาสั้นจริงๆ)
  • เดี๋ยวชัด..เดี๋ยวไม่ชัด....(กลับไปกลับมา เดี๋ยวเพิ่มเดี๋ยวลด)
  • ปวดหัว คลื่นไส้ วิงเวียน ปวดศีรษะ อยากจะอาเจียน 
 
สายตาสั้นเทียม มักเกิดได้ทั้งกับเด็กและผู้ใหญ่ ส่วนใหญ่จะเกิดกับเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ สามารถป้องกันได้ง่ายๆด้วยการ พักสายตาเป็นระยะ ด้วยการมองไกล 20 ฟุต เป็นเวลา 20 วินาที หรืออาจจะพักสายตา 1 นาทีทุกๆ ครึ่งชั่วโมง เพื่อลดการเกร็งของกล้ามเนื้อตา ไม่ควรใช้สายตาในที่ที่มีแสงสว่างไม่เพียงพอหรืออ่านหนังสือที่มีขนาดตัวอักษรเล็กเกินไปเพราะจะยิ่งไปกระตุ้นให้เกิดการเพ่งมากขึ้น 
 
ถึงผู้ปกครองที่มีลูกเล็กในยุคนี้ คงต้องมีเวลาพาลูกๆไปทำกิจกรรม Outdoor มากขึ้น พาไปทำกิจกรรมที่เขาสามารถฝึกใช้สายตาในทุกระยะ ให้ร่างกายได้เรียนรู้ว่ามนุษย์ไม่ได้ใช้งานระยะใกล้ระยะเดียว เพื่อเสริมกระบวนการพัฒนาการเรียนรู้ของเด็ก อีกทั้งยังลดการเพิ่มขึ้นของสายสั้นได้