สายตาเราเปลี่ยนแปลงอย่างไร....เมื่ออายุเพิ่มขึ้น

วันที่เผยแพร่ 22 ก.พ. 2565

กรอบแว่นสาย , แว่นสายตา , ปัญหาสายตา , สายตา




คงปฎิเสธไม่ได้ว่าความสามารถในการมองเห็นของเราจะเริ่มลดลงเมื่ออายุเพิ่มขึ้น และเห็นได้ชัดเมื่อเข้าสู่อายุ 60 ปีขึ้นไป          

สิ่งที่เปลี่ยนแปลงเมื่ออายุมากขึ้น เช่น ปัญหาสายตายาวตามอายุ(Presbyopia) ซึ่งเป็นสภาวะปกติที่ทุกคนจะต้องเผชิญและสามารถแก้ปัญหาได้ด้วยแว่นสายตา ปัญหาต้อกระจก (Cataract) ซึ่งเกิดจากความเสื่อมของดวงตาเมื่ออายุเพิ่มขึ้น และสามารถแก้ไขได้ด้วยการผ่าตัด          

และเมื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ ปัญหาสุขภาพตาก็จะเพิ่มขึ้น เช่น ต้อหิน (Glaucoma)จอประสาทตาเสื่อม (Age - Macular degeneration : AMD)หรือสภาวะเบาหวานเข้าจอประสาทตา (Diabetic Retinopathy) และนี่คือตารางที่แสดงการเปลี่ยนแปลงปัญหาการมองภาพ และคำแนะนำ

ช่วงอายุ

ปัญหาการมองภาพ

คำแนะนำ

40 ปีขึ้นไป

สายตายาวตามอายุ ทำให้การมองระยะใกล้ไม่ชัดเท่าเดิม ควรเช็คสุขภาพสายตาทุก 2 ปี และเลือกใช้เลนส์ที่เหมาะสมกับปัญหาสายตา
มีโอกาสเกิดอาการตาแห้ง (Dry eye) และสายตาพร่าจากการใช้อุปกรณ์ดิจิตอล (Computer vision syndrome) เลือกรับประทานอาหารที่มี Omega-3 สูงและสารต้านอนุมูลอิสระ

50 ปีขึ้นไป

มีโอกาสเกิดโรคต้อกระจก (Cataracts), ต้อหิน(Glacoma)และจอตาเสื่อม(Age - Macular degeneration : AMD) ควรเช็คสุขภาพตาทุกปี
ค่าสายตายาวตามอายุเพิ่มขึ้น การใช้แว่นสายตามากกว่า 1 ตัว หรือ เลนส์โปรเกรสซีฟ
เฉพาะในผู้หญิง มีโอกาสเกิดอาการตาแห้งจากสภาวะหมดประจำเดือน(Menopause) หากคุณใช้ยารักษาโรคบางตัวเป็นประจำ ควรปรึกษาแพทย์ เนื่องจากยาบางตัวมีผลข้างเคียงทำให้เกิดอาการตาแห้ง

60 ปีขึ้นไป

มีโอกาสสูงขึ้นสำหรับการเกิดโรคทางตา ควรเช็คสุขภาพตาทุกปี รวมถึงการตรวจสุขภาพร่างกายอื่นๆ ด้วยเพราะโรคบางชนิดส่งผลต่อการมองเห็นได้ เช่น โรคเบาหวาน
ความสามารถสำหรับการมองในที่แสงสลัวลดลง อ่านหนังสือในพื้นที่ที่มีแสงไฟเพียงพอ และปรับความสว่างให้รู้สึกสบายตามากที่สุด
ช่วงอายุ 60 ปีการทำงานของดวงตาเสื่อมลงทำให้เกิดสภาวะบางอย่างที่รบกวนการมองเห็น เช่น มองเห็นจุดดำ หรือเส้นสีดำ หากคุณเห็นเงาดำลอยไป ลอยมาแบบฉับพลัน นี่เป็นสัญญาณของโรควุ้นตาเสื่อม (Vitreous Degene – ration) แต่หากมีอาการเห็นแสงแฟลช (Flash) ร่วมด้วย ควรรีบพบแพทย์ทันที เพราะอาจเกิดจอประสาทตาหลุดลอก (Retinal detachment) ได้
70 และ 80 ปีขึ้นไป ในช่วงอายุนี้ คนส่วนใหญ่มักเป็นโรคต้อกระจกที่รุนแรงขึ้น รบกวนการมองเห็นมากขึ้น การรักษาด้วยการผ่าตัดต้อกระจกเป็นวิธีที่ดีที่สุด
  ความสามารถในการรับรู้สีต่างๆ ลดลง และมุมมองภาพแคบลง ปรึกษาแพทย์เพื่อหาเลนส์สายตาที่เพิ่มความคมชัดของภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งขณะขับรถ


สุดท้าย คุณควรรับการตรวจเช็คสุขภาพสายตาอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อป้องกัน รักษาและชะลออาการต่างๆ ได้อย่างทันท่วงที